http://www.4shared.com/file/_duqazJi/Game__100__-_M53_41.html
Katper
วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
งานนั่งโต๊ะ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
รายงานผลวิจัยจาก British Journal of Cancer ที่ทำการศึกษากับผู้ชาย
45,000 คน ซึ่งมีอายุ 45-79 ปี พบว่า.. ผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวัน มีความเสี่ยง
เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันครึ่งวัน 20%
และผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะนั้น มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าผู้ชาย
ที่ไม่ได้ทำงานนั่งโต๊ะถึง 28%
รูปแบบของการออกกำลังกายนั้นก็มีผล โดยผู้ชายที่เดิน หรือปั่นจักรยาน
น้อยกว่า 40 นาทีต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าผู้ชายที่เดิน
หรือปั่นจักรยานน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันอยู่ 14%
แต่ไม่แน่นอนเสมอไปที่การออกกำลังจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากนักวิจัย
จากสถาบัน Karolinska ในสวีเดน สันนิษฐานว่าเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเพศชาย
ที่หลั่งออกมา งานวิจัยก่อนหน้านี้บางชิ้น ก็พบว่า การทานผักผลไม้นั้น
ช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้
ดังนั้น การลดความเสี่ยงมะเร็งต่อลูกหมาก ที่ Dr. Helen Rippon จากองค์กร
การกุศลเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากแนะนำ คือ ไม่นั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เดิน หรือขี่จักรยาน (ออกกำลังกาย) หรือขยับตัวไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาอย่างเอาเป็นเอาตายในโรงยิม จะเป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน
ที่มา : Desk jobs could raise the risk of prostate cancer
45,000 คน ซึ่งมีอายุ 45-79 ปี พบว่า.. ผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวัน มีความเสี่ยง
เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันครึ่งวัน 20%
และผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะนั้น มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าผู้ชาย
ที่ไม่ได้ทำงานนั่งโต๊ะถึง 28%
รูปแบบของการออกกำลังกายนั้นก็มีผล โดยผู้ชายที่เดิน หรือปั่นจักรยาน
น้อยกว่า 40 นาทีต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าผู้ชายที่เดิน
หรือปั่นจักรยานน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันอยู่ 14%
แต่ไม่แน่นอนเสมอไปที่การออกกำลังจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากนักวิจัย
จากสถาบัน Karolinska ในสวีเดน สันนิษฐานว่าเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเพศชาย
ที่หลั่งออกมา งานวิจัยก่อนหน้านี้บางชิ้น ก็พบว่า การทานผักผลไม้นั้น
ช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้
ดังนั้น การลดความเสี่ยงมะเร็งต่อลูกหมาก ที่ Dr. Helen Rippon จากองค์กร
การกุศลเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากแนะนำ คือ ไม่นั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เดิน หรือขี่จักรยาน (ออกกำลังกาย) หรือขยับตัวไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาอย่างเอาเป็นเอาตายในโรงยิม จะเป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน
ตู้เย็นคนยาก ประหยัดด้วยหลักฟิสิกส์
Mohammed Bah Abba คุณครูสอนวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งในไนจีเรีย แอฟริกา
ได้รับรางวัลนวัตกรรมโลว์เทค จากโรเล็กซ์ จากผลงาน pot-in-pot ในที่นี้ขอเรียกว่า
ตู้เย็นคนยาก สาเหตุมาจากการที่นักเรียนขาดเรียนบ่อยๆ เพื่อไปช่วยพ่อแม่ขายผลิตผล
จากพืชในตลาดให้ทัน ก่อนที่ผลไม้สุกที่ตัดแล้ว จะเน่าเสียตามสภาพภูมิอากาศร้อน
ตู้เย็นของคุณครูทำจากตุ่มดินเผาสองใบ ใบใหญ่ใส่ทรายรองก้น วางตุ่มใบเล็กลงไป
ในใบใหญ่ ใส่ทรายในช่องว่างระหว่างตุ่มสองใบ จากนั้นเทน้ำลงไปในทราย
ให้ทรายชุ่มน้ำ แล้วนำผ้าชุบน้ำมาปิดฝาตุ่ม ก็จะได้ตู้เย็นคนยาก สามารถเก็บผัก
ผลไม้ได้นานกว่าเดิม ด้วยการเก็บลงไปในตุ่มใบเล็ก ซึ่งสามารถเก็บได้นาน
กว่า 4 สัปดาห์
จากการที่ทรายทำหน้าที่เก็บความเย็นให้ตุ่มใบเล็ก
และเก็บน้ำให้ตุ่มใบใหญ่ เมื่อน้ำระเหยออกจาก
ผิวของตุ่มใบใหญ่ จะนำพาความร้อนออกไป
และทำให้อุณหภูมิของตุ่มใบเล็กเย็นระดับน้องๆ
ตู้เย็นเลยทีเดียว ใช้หลักฟิสิกส์เรื่องความร้อนแฝง
ของการเปลี่ยนเฟสจากของเหลวเป็นไอ
ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม
ที่มา : เรื่อง ตู้เย็นคนยาก โดย ดร. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ หนังสือ วิทยาศาสตร์
สำหรับเยาวชน นานาสาระ (๑) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย (วท.), Ancient technology preserves food, A "Desert Refrigerator" Improves Lives in Nigeria
ได้รับรางวัลนวัตกรรมโลว์เทค จากโรเล็กซ์ จากผลงาน pot-in-pot ในที่นี้ขอเรียกว่า
ตู้เย็นคนยาก สาเหตุมาจากการที่นักเรียนขาดเรียนบ่อยๆ เพื่อไปช่วยพ่อแม่ขายผลิตผล
จากพืชในตลาดให้ทัน ก่อนที่ผลไม้สุกที่ตัดแล้ว จะเน่าเสียตามสภาพภูมิอากาศร้อน
ตู้เย็นของคุณครูทำจากตุ่มดินเผาสองใบ ใบใหญ่ใส่ทรายรองก้น วางตุ่มใบเล็กลงไป
ในใบใหญ่ ใส่ทรายในช่องว่างระหว่างตุ่มสองใบ จากนั้นเทน้ำลงไปในทราย
ให้ทรายชุ่มน้ำ แล้วนำผ้าชุบน้ำมาปิดฝาตุ่ม ก็จะได้ตู้เย็นคนยาก สามารถเก็บผัก
ผลไม้ได้นานกว่าเดิม ด้วยการเก็บลงไปในตุ่มใบเล็ก ซึ่งสามารถเก็บได้นาน
กว่า 4 สัปดาห์
จากการที่ทรายทำหน้าที่เก็บความเย็นให้ตุ่มใบเล็ก
และเก็บน้ำให้ตุ่มใบใหญ่ เมื่อน้ำระเหยออกจาก
ผิวของตุ่มใบใหญ่ จะนำพาความร้อนออกไป
และทำให้อุณหภูมิของตุ่มใบเล็กเย็นระดับน้องๆ
ตู้เย็นเลยทีเดียว ใช้หลักฟิสิกส์เรื่องความร้อนแฝง
ของการเปลี่ยนเฟสจากของเหลวเป็นไอ
ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม
ที่มา : เรื่อง ตู้เย็นคนยาก โดย ดร. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ หนังสือ วิทยาศาสตร์
สำหรับเยาวชน นานาสาระ (๑) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย (วท.), Ancient technology preserves food, A "Desert Refrigerator" Improves Lives in Nigeria
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)