"บรั่นดี (brandy)" นั้น มาจากคำว่า "brandewijn" ซึ่งเป็นภาษาดัตช์ (Dutch)
แปลว่า "burnt wine" ซึ่งหมายถึงการให้ความร้อนแก่เหล้าองุ่นเพื่อกลั่น ดังนั้น
บรั่นดีจึงเป็นสุราชนิดแรงที่กลั่นจากเหล้าองุ่น แต่ถ้าเป็นชนิดที่กลั่นจากน้ำผลไม้อื่นๆ
หลังจากการหมักแล้วก็เรียกว่า บรั่นดีผลไม้ (fruit brandy) เช่น apple brandy
ทำจากแอปเปิ้ล peach brandy ทำจากพีช เป็นต้น
คุณภาพของบรั่นดีขึ้นอยู่กับ คุณภาพของเหล้าองุ่นที่นำมากลั่น, กรรมวิธี
ที่ใช้ในการกลั่น, และที่สำคัญที่สุดก็คือการเลือกชนิดไม้ที่ใช้ทำถังเพื่อเก็บบ่มบรั่นดี
หลังจากกลั่นแล้ว ซึ่งการเก็บบ่มสุราไว้ในถังไม้ที่เหมาะสมเป็นเวลานานปี จะเป็นการ
ทำลายสารพิษต่างๆ เช่น fusel oils ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างกรรมวิธีการผลิตและเจือปน
อยู่ในสุราให้หมดไปอีกด้วย
บรั่นดีที่นิยมกันว่าเป็นชนิดที่ดีที่สุด คือ บรั่นดีที่ผลิตจากเมืองคอนยัก
(Cognac) และเมืองอาร์มายัก (Armagnac) ประเทศฝรั่งเศส และ
เรียกชื่อบรั่นดีนี้ตามชื่อเมือง บรั่นดีทั้ง 2 ชนิดนี้ผู้ผลิตจะเก็บบ่มไว้ในถังไม้โอ๊ก
เป็นเวลาหลายๆ ปี ส่งผลให้สารแทนนินส์ (tannins) ที่มีอยู่ในเนื้อไม้
ละลายลงไปในบรั่นดีทำให้มีสีเหลืองอำพัน และทำให้มีกลิ่นหอม สำหรับบรั่นดี
ที่มีคุณภาพต่ำนั้น ผู้ผลิตจะเติมสารคาโรเมล (caromel) ลงไป
เพื่อทำให้บรั่นดีมีสีเหลือง และเติมวานิลลา (vanilla) ลงไปเพื่อปรุงกลิ่น
สำหรับบรั่นดีที่เก็บบ่มไว้ในถังไม้โอ๊ก ซึ่งฉาบผิวด้วยขี้ผึ้งพาราฟิน (paraffin) หรือ
เก็บบ่มไว้ในภาชนะดินเผาจะมีลักษณะใสไม่มีสี
บรั่นดีและสุราชนิดอื่นๆ เมื่อบรรจุขวดแล้ว
ไม่ว่าจะเก็บไว้นานสักเท่าใด ก็ไม่มีผลทำให้
คุณภาพดีขึ้นไปกว่าก่อนบรรจุขวด
ที่มา :
- หนังสือวิทยาศาสตร์น่ารู้ (ชุดที่1 80เรื่อง) โดย ดร.บุญพฤกษ์ จาฏามระ
- http://us.geocities.com/zoneubon/cocktail.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น